วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559

ดนตรีบำบัดกับผู้สูงอายุ

ดนตรีบำบัดกับผู้สูงอายุ
เสียงดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ที่อยู่ใกล้ตัวเรา ซึ่งคนไทยจะผูกพันกันมายาวนาน ตั้งแต่แรกเกิดตอนอยู่ในเปลก็จะได้ยินเสียงเห่กล่อมแล้ว ตามมาด้วย วัฒนธรรมประเพณีรอบตัวทำให้ได้ยินเสียงมาตลอด ดังนั้น เมื่อได้ยินเสียงดนตรีคราใดจะรู้สึกเหมือนมีอะไรมากระตุ้นให้สดชื่น จิตใจสบาย ยิ่งผู้ที่ชอบด้วยแล้วหน้าตาจะแจ่มใสทีเดียว
เสียงดนตรีมีพลังลี้ลับเร้นแฝงอยู่ภายใน จะช่วยกระตุ้นให้เกิดพลังทั้งกายและจิตใจควบคู่ กันไป จึงได้มีผู้นำมาใช้บำบัดกับผู้พิการในรูป แบบต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องอัมพาตของแขน ขาหรือนิ้วมือ ดนตรีบำบัดมิใช่เป็น การรักษาโรคให้หายขาดแต่จะช่วยเสริมการบำบัดรักษาโรคให้ได้ผล ดีขึ้น
คุณชัยวุฒิ ดินปรางค์ นักดนตรีบำบัดและนันทนาการ ศูนย์ เวชศาสตร์ ฟื้นฟูสวางคนิวาส สภา กาชาดไทย ได้บอกว่า การนำดนตรีมาบำบัดคนไข้พิการนั้นจะยึดหลัก 3 ประการ คือ ใช้มือเพื่อกระตุ้นสมอง ใช้เสียงและอากาศมาบริหารอวัยวะภายใน และทำร่างกายให้เข้าจังหวะ และได้สรุปถึงผลงานที่ได้วิจัยไว้ให้ ฟังด้วย ฝักเล่นดนตรีทุกวันจะช่วย ให้มีการหดตัวของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวของข้อ ทั้งข้อไหล่ ข้อศอก ข้อมือ รวมทั้งการงอ-เหยียดนิ้วมือด้วย
เครื่องดนตรีที่ใช้มีหลายแบบตามความ เหมาะสมของความพิการที่จะฟื้นฟู เช่น เครื่องเคาะจังหวะ ได้แก่ ทรัมเมอริน กระดิ่งพวง เครื่องใช้ที่มือกดหรือดัน ได้แก่ อังกะลุง จะใช้มือแขนข้างที่อ่อนแรงเล่นดนตรีไปตามเพลงและจังหวะที่กำหนดให้ทุกวัน วันละ 30 นาที ราว 2 เดือน ก็จะวัดกำลังของกล้ามเนื้อดู เปรียบเทียบกันกับก่อนทำ พบว่านอกจากกล้ามเนื้อจะมีแรงมาก ขึ้นแล้ว สภาพจิตใจและสมองจะพลอยดีขึ้น ร่างกายจะรู้สึกผ่อนคลาย เรื่องกังวลใจลดลง ที่สำคัญมีกำลังใจเพิ่มขึ้นพร้อมที่จะต่อสู้กับความพิการจนเข้าสู่ปกติ ให้ช่วยเหลือตัวเองได้มากที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก
ผู้แต่ง: นายแพทย์สุวิทย์ เกียรติเสวี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น